วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

สายสัญญาณ


 สายสัญญาณ  คือ สายนำสัญญาณ เป็นตัวกลางในการนำสัญญาณ ถ้าสายสัญญาณดี การนำสัญญาณก็ดี ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความเสถียร  มีค่าความสูญเสีย (loss) น้อย ทำให้สัญญาณที่ได้นั้นมีคุณภาพดี มีประสิทธิภาพของสัญญาณ โดยสัญญาณที่เราพูดถึงคือ การนำสัญญาณอินเตอร์เน็ต และการนำสัญญาณข้อมูล อันได้แก่ สายแลน (LAN) สายไฟเบอร์ออฟติค (Fiber Optic) ที่เราใช้อินเตอร์เน็ตแบบ FTTx  และสายสัญญาณกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งมีผลต่อความคมชัดของการบันทึกภาพวีดีโอวงจรปิดเป็นอย่างมาก

สำหรับสาย LAN (UTP) ถ้าเป็นตอนนี้ ในยุคใครๆก็ใช้ WI-FI แต่สายแลน ก็นำมาใช้ในการเชื่อมต่อกับ Access Point, HotSpot ที่ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi  หรือตามองค์กร ก็ยังมีการใช้สายแลนอยู่ ซึ่งสายแลนก็มีหลายแบบ  เหมาะกับการรับส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน สายแลนแบบ CAT 5E 350 MHz สายแบบ CAT 6, 600 MHz และล่าสุด สาย CAT 6A, 10G รองรับการรับส่งข้อความความเร็วสูง

สายสัญญาณที่ใช้งานเครื่องรับสัญญานดาวเทียม หรือเครื่องรับสัญญาณเสาอากาศ


สาย AV
        COMPOSITE VIDEO สายสัญญาณภาพ เรียกว่าสาย AV ( Audio- Video) หรือ  RCA ( Radio Corporation America )  ส่วนมากใช้สีเหลืองเป็นสายนำสัญญาณภาพ ที่รวมสัญญาณความสว่าง (Y=Luminance) กับสัญญาณสี (C=Chrominance) มี 2 แบบ คือ  RCA แจ็คที่หัวแจ็คตัวผู้จะยาวยื่นออกมา และหัวอีกแบบเรียกว่า BNC แจ็คตัวผู้อยู่ด้านในและล็อคหัวได้ ส่วน   สายสีแดง-ขาว เป็นสายสัญญาณเสียงขวาและซ้าย แบบอนาล็อก มาตรฐานทั่วไป สีขาวจะใช้แทนสัญญาณข้างซ้าย ( L ) สีแดงจะใช้แทนสัญญาณข้างขวา( R ) เป็นสายสัญญาณวีดีโอคุณภาพต่ำ

สาย Component
         สาย Component จะ มีความ แตกต่างจากสาย AV คือสาย Component เป็นสายภาพเพียงอย่างเดียว แต่สาย AV ประกอบด้วยสายภาพแบบ Composite 1 เส้นและสายสัญญาณ เสียงช่องสัญญาณซ้าย 1 เส้น (Audio L) และขวา 1 เส้น (Audio R)
AV = Audio and Video   ความหมายของคำว่า สายภาพ แบบ Component ก็หมายถึงสายจำนวน 3 เส้นที่รวมกันเป็น 1 ชุดเพื่อใช้สำหรับต่อสัญญาณภาพแบบ Component
สาย AV โดยทั่วไปที่ใช้สำหรับการต่อสัญญาณภาพ 1 เส้นและสัญญาณเสียง 2 เส้น
การต่อสายภาพจำนวน 3 เส้น (Component)จะต้องต่อสาย เข้าช่องต่อภาพทั้ง 3 ช่องต่อดังนี้
Y (สัญญาณความสว่าง ซึ่งจะ มีสัญญาณสีเขียวรวมมาด้วย)
Pb (สัญญาณสีน้ำเงิน)
Pr (สัญญาณสีแดง)

สาย S-Video
        ย่อมาจาก Separate Video เป็นพอร์ตรับสัญญาณภาพจากวีดีโอแบบอะนาล็อก สนับสนุนภาพที่มีความละเอียด 480i หรือ 576i โดยสามารถแยกสัญญาณได้ออกเป็น 2 สัญญาณ คือ ความสว่างและสี ซึ่งคุณภาพของภาพที่ได้จะดีกว่าพอร์ต Composite/AV  ปัจจุบัน สายแบบ S-Video นิยมใช้ในงานโปรเจคเตอร์

สาย D-Sub หรือ VGA
        พอร์ต VGA หรือพอร์ต D-Sub เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก ซึ่งเป็นการรับสัญญาณภาพแบบอะนาล็อก โดยส่วนใหญ่มักจะพบในสมาร์ททีวี, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น   สัญญาณที่ส่งออกมาจากพอร์ตนี้ ก็คือสัญญาณภาพ ที่ส่งจากคอมพิวเตอร์ไปยังจอภาพนั่นเอง โดยมีการใช้งานมานานแสนนาน ซักยี่สิบปีได้ ซึ่งได้นำเอามาแทน DE-9 ที่ใช้กันในจอโมโนโครม และจอสีในยุคแรกๆ โดยในจำนวน 15 ขาของ VGA นั้น มีขาที่จำเป็นเพียง 5 ขา คือสำหรับส่งสี 3 สี และสัญญาณบอกตำแหน่งแนวตั้งและแนวนอน ส่วนขาอื่นๆ นั้น จะเป็นกราวน์ (รวมถึงขา signal return) และขาสัญญาณสำหรับการสื่อสาร
 สัญญาณภาพ 3 สี ที่ส่งไปที่จอภาพนั้น เป็นสัญญาณแบบ analog ซึ่งก็คือ ความสว่างของสีแต่ละจุด จะควบคุมโดยความต่างศักย์ไฟฟ้า เช่น ถ้ากำหนดไว้ว่า 0.7V เท่ากับความสว่างสูงสุด 0V คือต่ำสุด ค่าระหว่าง 0 ถึง 0.7 ก็คือระดับสีต่างๆ นั่นเอง

สาย DVI (Digital Visual Interface)
       เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก โดยเป็นการรับสัญญาณภาพแบบดิจิทัล ซึ่งจะให้ภาพมีความคมชัดมากกว่าพอร์ต VGA
DVI ซึ่งเริ่มเอาการส่งข้อมูลแบบ digital เข้ามาใช้ ทำให้ภาพที่ได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะทนต่อสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า

สาย HDMI
       HDMI ย่อมาจาก High Definition Multimedia Interface ระบบการเชื่อมต่อสัญญาภาพและเสียงระบบดิจิตอลไว้ในสัญญาณเพียงเส้นเดียว ไม่จำเป็นต้องต่อสายสัญญาณหลายเส้น  HDMI จะทำให้ภาพมีความคมชัด มีความละเอียดสูง และให้เสียงรอบทิศทางที่สมบูรณ์แบบที่สุด HDMI รองรับกับระบบเสียงดิจิตอล   จุดประสงค์หลักของ HDML พัฒนามาเพื่อความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค และให้ความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ
คุณสมบัติเด่นๆ ของสาย HDMI
- ด้วยสายเส้นเดียวสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งภาพ เสียง และเน็ตเวิร์ค
- รองรับความละเอียดที่สูงขึ้น
- รองรับ Color Space ทำให้ภาพคมชัด สมจริงมากยิ่งขึ้น

เครื่องทดสอบสายสัญญาณ
                  
                CT100                                                                            CT40


               








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น